ทวีปน่ารู้ในโลกของเรา
วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
ทวีปออสเตรเลีย
ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำไมแผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเชีย
ภูมิประเทศของทวีปออสเตรเลีย
ทวีปออสเตรเลียอยู่ทางซีกโลกใต้และบางคนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนมหาสมุทร หรือที่เรียกกันว่า โอเชียเนีย (Oceania) หมายถึง ดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ฟิจิ นิวแคลีโดเนีย วานูอาตู ซามัวตะวันตก หมู่เกาะโซโลมอน ฯลฯ ทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า
สภาพพื้นที่ของประเทศออสเตรเลีย แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่
เขตที่สูงทางภาคตะวันออก (Eastern Highland) เป็นเขตที่มีเทือกเขาสูงวางตัวจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ขนานกับชายฝั่งตะวันออก
เขตที่ราบภาคกลาง (Central Plain) มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีพื้นที่ ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นแหล่งที่มีน้ำบาดาลมาที่สุดของประเทศ
เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก (Western Plateau) เป็นเขตที่สูงภาคตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าครึ่งทวีป ประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งแคบๆ และที่สูงเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีภูมิประเทศที่เป็นเขตทะเลทรายอยู่หลายแห่ง เช่น ทะเลทราย เกรตแซนดี ทะเลทรายกิบสัน ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย
ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ที่วางตัวขนานกับชายฝั่งเรียกว่า เกรท แบริเออร์ ริฟ (Great Barrier Reef) วางตัวขนานและห่างจากชายฝั่งประมาณ 40-200 กิโลเมิตร และยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร ส่วนภูมิประเทศของดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ โอเชียเนียส่วนใหญ่เป็นเกาะและพืดหินปะการัง กระทั่งแผ่นดินเกิดการยกตัว นอกจากนี้ ยังมีที่เป็นภูเขาไฟ เทือกเขาขรุขระทุรกันดาร ที่ราบแคบๆ และป่าทึบ
ทวีปโอเซียเนีย
แผนที่
โอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก[1] การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะโพลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก
"โอเชียเนีย Oceania" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะโพลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เกาะ ประกอบด้วย 14 ประเทศ เมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ ได้แก่
คิริบาส (ตาระวา)
ซามัว (อาปีอา)
ตองกา (นูกูอะโลฟา)
ตูวาลู (ฟูนะฟูตี)
นาอูรู (นาอูรู)
นิวซีแลนด์ (เวลลิงตัน)
ปาปัวนิวกินี (พอร์ตมอร์สบี)
ปาเลา (เมเลเคอ็อก)
ฟิจิ (ซูวา)
ไมโครนีเซีย (ปาลิเกอร์)
วานูอาตู (พอร์ตวิลา)
หมู่เกาะโซโลมอน (โฮนีอารา)
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (มาจูโร)
ออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา)
และ 13 ดินแดน (เจ้าของดินแดนอยู่ในวงเล็บและข้างหลังของ | คือเมืองหลวง) ได้แก่
กวม ( สหรัฐอเมริกา) | อากาญา
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ( สหรัฐอเมริกา) | ไซปัน
อเมริกันซามัว ( สหรัฐอเมริกา) | ปาโกปาโก
หมู่เกาะคุก ( นิวซีแลนด์) | อะวารัว
เฟรนช์โปลินีเซีย ( ฝรั่งเศส) | ปาปีติ
นีอูเอ ( นิวซีแลนด์) | อะโลฟี
หมู่เกาะพิตแคร์น ( สหราชอาณาจักร) | แอดัมส์ทาวน์
โตเกเลา ( นิวซีแลนด์) | ไม่มี, แต่ละอะทอลล์มีศูนย์กลางการบริหาร
วาลลิสและฟุตูนา ( ฝรั่งเศส) | มาตา-อูตู
นิวแคลิโดเนีย ( ฝรั่งเศส) | นูเมอา
เกาะนอร์ฟอล์ก ( ออสเตรเลีย) | คิงส์ตัน
หมู่เกาะโคโคส ( ออสเตรเลีย) | เวสต์ไอแลนด์
เกาะคริสต์มาส ( ออสเตรเลีย) | เดอะ เซ็ทเทลเมนท์
ภูมิประเทศโอเชียเนียส่วนใหญ่เป็นเกาะและพืดหินปะการัง กระทั่งแผ่นดินเกิดการยกตัว นอกจากนี้ ยังมีที่เป็นภูเขาไฟ เทือกเขาขรุขระทุรกันดาร ที่ราบแคบๆ ป่าทึบ และทุกประเทศลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิอากาศร้อนชื้น ยกเว้นนิวซีแลนด์ที่เป็นแบบภาคพื้นสมุทร ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชุกมากแถบฝั่งตะวันตกของเกาะใต้ และออสเตรเลียที่แบ่งออกได้เป็น 7 เขตภูมิอากาศ คือ ร้อนชื้น ร้อนสลับแห้ง ทุ่งหญ้าเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เมดิเตอร์เรเนียน อบอุ่นชื้นแบบภาคพื้นสมุทร และแบบทะเลทราย
ในทวีปโอเชียเนียนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างจะเกี่ยวเนื่องกันของประเทศแต่ละประเทศ จักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ที่สำคัญในโอเชียเนีย เช่น อาณาจักรของชาวเมารี จักรวรรดิตูอิตองกา หมู่เกาะโซโลมอน จักรวรรดิตูอิปูโลตูและจักรวรรดิตูอิมานูอา เป็นต้น
เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมจากโลกตะวันตกมีทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
บางประเทศก่อกำเนิดจากผลพวงของสงคราม ทั้งสงครามระหว่างคนพื้นเมืองด้วยกันเองอย่างตองกา หรือการรวมประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของหมู่เกาะโซโลมอน เฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของประเทศสำคัญคือออสเตรเลีย ก็เป็นผลมาจากหลังสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกายุติลง และอังกฤษมองหาแผ่นดินใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้กระทำผิดแทนที่อาณานิคมในเขตแอตแลนติกเหนือ
คำ "โอเชียเนีย" ได้มาจากชื่อของ "เปลือกโลกมหาสมุทร-Oceanic plate" ทั้งนี้ เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6-10 แผ่น และมีแผ่นเล็กๆ ที่ประกอบกันขึ้นหลายๆ แผ่นต่อกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เรียกว่าเพลต (Plate) แบ่งเป็นเปลือกโลกทวีป-คอนติเนนเติล เพลต (Continental plate) และเปลือกโลกมหาสมุทร-โอเชียนิก เพลต (Oceanic plate)
โอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก[1] การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะโพลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก
"โอเชียเนีย Oceania" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะโพลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เกาะ ประกอบด้วย 14 ประเทศ เมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ ได้แก่
คิริบาส (ตาระวา)
ซามัว (อาปีอา)
ตองกา (นูกูอะโลฟา)
ตูวาลู (ฟูนะฟูตี)
นาอูรู (นาอูรู)
นิวซีแลนด์ (เวลลิงตัน)
ปาปัวนิวกินี (พอร์ตมอร์สบี)
ปาเลา (เมเลเคอ็อก)
ฟิจิ (ซูวา)
ไมโครนีเซีย (ปาลิเกอร์)
วานูอาตู (พอร์ตวิลา)
หมู่เกาะโซโลมอน (โฮนีอารา)
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (มาจูโร)
ออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา)
และ 13 ดินแดน (เจ้าของดินแดนอยู่ในวงเล็บและข้างหลังของ | คือเมืองหลวง) ได้แก่
กวม ( สหรัฐอเมริกา) | อากาญา
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ( สหรัฐอเมริกา) | ไซปัน
อเมริกันซามัว ( สหรัฐอเมริกา) | ปาโกปาโก
หมู่เกาะคุก ( นิวซีแลนด์) | อะวารัว
เฟรนช์โปลินีเซีย ( ฝรั่งเศส) | ปาปีติ
นีอูเอ ( นิวซีแลนด์) | อะโลฟี
หมู่เกาะพิตแคร์น ( สหราชอาณาจักร) | แอดัมส์ทาวน์
โตเกเลา ( นิวซีแลนด์) | ไม่มี, แต่ละอะทอลล์มีศูนย์กลางการบริหาร
วาลลิสและฟุตูนา ( ฝรั่งเศส) | มาตา-อูตู
นิวแคลิโดเนีย ( ฝรั่งเศส) | นูเมอา
เกาะนอร์ฟอล์ก ( ออสเตรเลีย) | คิงส์ตัน
หมู่เกาะโคโคส ( ออสเตรเลีย) | เวสต์ไอแลนด์
เกาะคริสต์มาส ( ออสเตรเลีย) | เดอะ เซ็ทเทลเมนท์
ภูมิประเทศโอเชียเนียส่วนใหญ่เป็นเกาะและพืดหินปะการัง กระทั่งแผ่นดินเกิดการยกตัว นอกจากนี้ ยังมีที่เป็นภูเขาไฟ เทือกเขาขรุขระทุรกันดาร ที่ราบแคบๆ ป่าทึบ และทุกประเทศลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิอากาศร้อนชื้น ยกเว้นนิวซีแลนด์ที่เป็นแบบภาคพื้นสมุทร ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชุกมากแถบฝั่งตะวันตกของเกาะใต้ และออสเตรเลียที่แบ่งออกได้เป็น 7 เขตภูมิอากาศ คือ ร้อนชื้น ร้อนสลับแห้ง ทุ่งหญ้าเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เมดิเตอร์เรเนียน อบอุ่นชื้นแบบภาคพื้นสมุทร และแบบทะเลทราย
ในทวีปโอเชียเนียนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างจะเกี่ยวเนื่องกันของประเทศแต่ละประเทศ จักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ที่สำคัญในโอเชียเนีย เช่น อาณาจักรของชาวเมารี จักรวรรดิตูอิตองกา หมู่เกาะโซโลมอน จักรวรรดิตูอิปูโลตูและจักรวรรดิตูอิมานูอา เป็นต้น
เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมจากโลกตะวันตกมีทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
บางประเทศก่อกำเนิดจากผลพวงของสงคราม ทั้งสงครามระหว่างคนพื้นเมืองด้วยกันเองอย่างตองกา หรือการรวมประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของหมู่เกาะโซโลมอน เฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของประเทศสำคัญคือออสเตรเลีย ก็เป็นผลมาจากหลังสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกายุติลง และอังกฤษมองหาแผ่นดินใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้กระทำผิดแทนที่อาณานิคมในเขตแอตแลนติกเหนือ
คำ "โอเชียเนีย" ได้มาจากชื่อของ "เปลือกโลกมหาสมุทร-Oceanic plate" ทั้งนี้ เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6-10 แผ่น และมีแผ่นเล็กๆ ที่ประกอบกันขึ้นหลายๆ แผ่นต่อกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เรียกว่าเพลต (Plate) แบ่งเป็นเปลือกโลกทวีป-คอนติเนนเติล เพลต (Continental plate) และเปลือกโลกมหาสมุทร-โอเชียนิก เพลต (Oceanic plate)
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
ทวีปแอนตาร์กติกา
ทวีปแอนตาร์กติกา
ทวีปแอนตาร์กติกา เป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดย เทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร (แต่มีสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป) สิ่งมีชีวิตพื้นเมืองได้แก่ เพนกวิน แมวน้ำ และสาหร่าย
ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ แต่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก (ความจริงแล้วไม่มีประชากรอยู่ถาวร) นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่มีระดับความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ความชื้นเฉลี่ยและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก
การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้
เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่างๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1957 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายให้น้ำแข็งที่หนากว่า 2000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 1959 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร
ศูนย์วิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติกา
ดินแดนหลายส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่างๆ อ้างสิทธิ์ครอบครองดังเช่น ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่างๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่างๆมากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1000 คน และจะเพิ่มเป็น 4000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมคเมอร์โดที่อยู่ในเขตของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1000 คน
ภูมิประเทศ
แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิล รอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[1]
ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา แผ่นน้ำแข็งซึ่งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร[2]
จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซีฟ มีความสูง 4892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัส บนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน[3]
http://th.wikipedia.org
ทวีปแอนตาร์กติกา เป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดย เทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร (แต่มีสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป) สิ่งมีชีวิตพื้นเมืองได้แก่ เพนกวิน แมวน้ำ และสาหร่าย
ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ แต่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก (ความจริงแล้วไม่มีประชากรอยู่ถาวร) นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่มีระดับความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ความชื้นเฉลี่ยและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก
การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้
เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่างๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1957 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายให้น้ำแข็งที่หนากว่า 2000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 1959 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร
ศูนย์วิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติกา
ดินแดนหลายส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่างๆ อ้างสิทธิ์ครอบครองดังเช่น ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่างๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่างๆมากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1000 คน และจะเพิ่มเป็น 4000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมคเมอร์โดที่อยู่ในเขตของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1000 คน
ภูมิประเทศ
แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิล รอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[1]
ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา แผ่นน้ำแข็งซึ่งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร[2]
จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซีฟ มีความสูง 4892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัส บนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน[3]
http://th.wikipedia.org
ทวีปอเมริกา
แผนที่ทวีปอเมริกา
ทวีปอเมริกา (อังกฤษ: Americas)[1][2] เป็นคำเรียกรวม ๆ หมายถึงทั้งทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้รวมกัน ซึ่งแก้ปัญหาความสับสนในภาษาอังกฤษของคำว่า "America" (ไม่มี s) ซึ่งอาจหมายถึงอเมริกาเหนือหรือใต้ก็ได้ ในบางครั้งผู้เรียกยังอาจหมายถึงประเทศชื่อสหรัฐอเมริกาด้วย
ทวีปอเมริกาเป็นดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 3 ส่วน คือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้. คำว่า "อเมริกา" ในที่นี้ยังรวมถึงหมู่เกาะแคริบเบียน และเกาะกรีนแลนด์ (แต่ไม่รวมประเทศไอซ์แลนด์) บริเวณคอคอดของอเมริกากลางมักถูกนำไปรวมกับอเมริกาเหนือ
คำว่า "อเมริกา" มีที่มาที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถหาหลักฐานได้คือ พ.ศ. 2050 โดยนักเขียนแผนที่ชาวเยอรมันชื่อ Martin Waldseemüller ได้ใส่คำว่า America ลงในแผนที่โลกของเขา และอธิบายว่าชื่อนี้นำมาจากชื่อภาษาละตินของนักสำรวจ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินได้ว่า Americus Vespucius และแปลงเป็นเพศหญิงได้เป็นคำว่า America (ในภาษาที่มีเพศอย่างภาษาละติน ทวีปจัดว่าเป็นเพศหญิง) ส่วน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นผู้พบทวีปอเมริกาเป็นคนแรก เสียชีวิตก่อนใน พ.ศ. 2049 โดยที่ยังเข้าใจว่าเขาค้นพบทวีปเอเซียบริเวณประเทศอินเดีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่พบอเมริกาเป็นคนแรกคือชาวไวกิ้ง ชื่อ Leif Ericsons
ทวีปแอฟริกา
ทวีปแอฟริกา (Africa)
ข้อมูลทั่วไป
ทวีปแอฟริกา (ภาษาอังกฤษ: Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร มีพื้นที่ 30,244,050 ตารางกิโลเมตร รวมหมู่เกาะที่อยู่ใกล้ หรือคิดเป็นพื้นที่ 20.3% ของพื้นดินบนโลก และมีประชากรรวมมากกว่า 800 ล้านคนใน 54 ประเทศ คิดเป็น 1 ใน 7 ของประชากรทั่วโลก โรมันโบราณเรียกตอนเหนือของทวีปนี้ว่า ดินแดนแอฟริกา (Africa terra) ปัจจุบันคือประเทศตูนิเซีย ซึ่งเคยเป็นมณฑลแอฟริกาของโรมัน
ทวีปแอฟริกาแบ่งออกได้เป็น 5 ภูมิภาคคือ เหนือ กลาง ใต้ ตะวันออก และตะวันตก
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ จดกับช่องแคบยิบรอลตาร์และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- ทิศตะวันออก จดกับมหาสมุทรอินเดียและคลองสุเอซ
- ทิศใต้ จดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย
- ทิศตะวันตก จดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และอ่าวกินี
ลักษณะภูมิประเทศ
จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป
เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 แนว
- เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
- เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
- ทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮาราซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก'
- ทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบและทะเลทรายกาลาฮารี
แม่น้ำ
- แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
- แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
- แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก
กระแสน้ำในมหาสมุทร
กระแสน้ำเย็นคะเนรี
กระแสน้ำอุ่นกินี
กระแสน้ำเย็นเบงเกลา
กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก
ภูมิอากาศ
ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้
สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา อยู่บริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร
เขตภูมิอากาศของแอฟริกาแบ่งออกเป็น 6 เขต
1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุกพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบ หรือป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งรอบอ่าวกินี ลุ่มแม่น้ำคองโก เขตที่สูงในแอฟริกาตะวันออก และฝั่งตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของแนวศูนย์สูตร ซึ่งอยู่รอบๆ เขตป่าดิบชื้น
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติมีอยู่บ้าง เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร ได้แก่ บริเวณตอนเหนือของทวีป มีทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย ซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกัน มีเนื้อที่ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งทวีป และเป็นเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางตอนใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น(สเตปป์) ได้แก่ บริเวณตอนกลางของทวีปและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรระหว่างละติจูด 10-30 องศาใต้ ด้านชายฝั่งตะวันตกของทวีป
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก ภูมิอากาศแบบนี้มีอยู่ 2 บริเวณ คือ ทางตอนเหนือที่เรียกว่า ชายฝั่งบาร์บารี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก ตูนิเซีย กับทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรภาคใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subttropical Climate) เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อน เป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน พบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของประเทศโมซัมบิก
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศอียิปต์ปัจจุบัน เป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ ได้แก่ การชลประทาน ที่สามารถนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ในการเกษตร ทำให้สามารถเพระปลูกได้ปีละ2-3 ครั้ง การสร้างพีระมิด เป็นที่เก็บศพของนักปกครองและนักรบ การทำมัมมี่ ซึ่งสามารถเก็บรักษาศพมนุษย์ได้เป็นพันๆ ปี โดยไม่เน่าเปื่อย การสร้างสฟิงซ์ โดยแกะสลักหินเป็นรูปสิงโตหมอบมีหน้าเป็นคน แพะ และเหยี่ยวไว้เป็นสิ่งเคารพ การทำปฏิทิน โดยกำหนดให้มีปีละ 365 วัน และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน การเขียน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ไว้ที่ฝาผนังที่ฝั่งศพ การเขียนสัญลักษณ์และรูปภาพแทนคำพูด ที่เรียกว่า อักษรไฮโรกลีฟิก การทำกระดาษ จากต้นพาไพรัส ซึ่งเป็นต้นกกชนิดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำไนล์
ต่อมาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 12 พวกอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขยายอำนาจ
จากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้้และนำอารยธรรมมุสลิมเข้าสู่ทวีปแอฟริกาหลายอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม
ภาษาอาหรับ สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิต เป็นต้น ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 22 วาสโก ดากามา (Vasco da Gama) ชาวโปรตุเกส ได้เกิดเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปเข้าสู่แอฟริกาตะวันออก และนับตั้งแต่นั้นมา
การสำรวจทวีปแอฟริกาของชาวยุโรปก็ได้เริ่มขึ้น และชาวยุโรปได้ขยายอิทธิพลของตน เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ
ไว้เป็นอาณานิคม กระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาจึงได้รับเอกราช
ให้ปกครองตนเอง
สภาพทางเศรษฐกิจ
เกษตรกรรม แบ่งเป็น
- การเพาะปลูกแบบยังชีพ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวเจ้า มันเทศ มันสำปะหลัง
- การทำไร่ขนาดใหญ่ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ชา ป่านศรนารายณ์ โกโก้
- การเกษตรกรรมแบบผสม (Mix Farming)
- การเกษตรแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น องุ่น มะกอก
ทวีปแอฟริกาส่ง โกโก้ ออกขายมากที่สุดในโลก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ส่ง เพชร ออกขายมากที่สุดในโลก และ ยังมีทองคำ ทองแดง ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ประชากร
ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ อัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่น 22 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
เชื้อสายของประชากร
- นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
- บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ
- ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา
- ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก
- บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายกาลาฮารี
- คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน และ จากชาวยุโรป บริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป
ภาษา
ภาษา ในทวีปแอฟริกามีภาษาพูดอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทวีปที่มีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม
1) กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือ และบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกของชาวยุโรปเป็นภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาปกครอง เป็นภาษที่ใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาดัตช์
2) กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา
3) กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป รวมทั้งบางประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ด้วย
4) กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีป
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน
เช่น เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์ เป็นต้น ส่วนศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจานี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาใหม่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนายิงก็มีผู้นับถืออยู่บ้าง
การศึกษา
แอฟริกาเป็นทวีปที่ยากจนและต้องพัฒนาทางด้านวิทยากรสมัยใหม่ แม้ความก้าวหน้าในโลกปัจจุบัน จะเป็นเครื่องกระตุ้นให้ประชากรและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องยกระดับและขยายการศึกษาให้ทั่วถึง แต่การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์และขัดสนทางด้านเศรษฐกิจในเกือบทุกประเทศ ย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาการศึกษา นั่นคือประเทศที่ยากจน อัตราส่วนการรู้หนังสือของประชากรจะต่ำ เช่น เอธิโอเปีย มาลี ไนเจอร์ มีผู้อ่านออกเขียนได้เพียงร้อยละ 24,25,28 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และแทนซาเนีย มีสภาพเศรษฐกิจดีกว่าประเทศทั้งสามนี้มีอัตราส่วนของผู้รู้หนังสือสูงร้อยละ 60 และ 85 เป็นต้น
ข้อมูลทั่วไป
ทวีปแอฟริกา (ภาษาอังกฤษ: Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร มีพื้นที่ 30,244,050 ตารางกิโลเมตร รวมหมู่เกาะที่อยู่ใกล้ หรือคิดเป็นพื้นที่ 20.3% ของพื้นดินบนโลก และมีประชากรรวมมากกว่า 800 ล้านคนใน 54 ประเทศ คิดเป็น 1 ใน 7 ของประชากรทั่วโลก โรมันโบราณเรียกตอนเหนือของทวีปนี้ว่า ดินแดนแอฟริกา (Africa terra) ปัจจุบันคือประเทศตูนิเซีย ซึ่งเคยเป็นมณฑลแอฟริกาของโรมัน
ทวีปแอฟริกาแบ่งออกได้เป็น 5 ภูมิภาคคือ เหนือ กลาง ใต้ ตะวันออก และตะวันตก
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ จดกับช่องแคบยิบรอลตาร์และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- ทิศตะวันออก จดกับมหาสมุทรอินเดียและคลองสุเอซ
- ทิศใต้ จดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย
- ทิศตะวันตก จดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และอ่าวกินี
ลักษณะภูมิประเทศ
จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป
เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 แนว
- เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
- เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
- ทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮาราซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก'
- ทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบและทะเลทรายกาลาฮารี
แม่น้ำ
- แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
- แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
- แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก
กระแสน้ำในมหาสมุทร
กระแสน้ำเย็นคะเนรี
กระแสน้ำอุ่นกินี
กระแสน้ำเย็นเบงเกลา
กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก
ภูมิอากาศ
ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้
สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา อยู่บริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร
เขตภูมิอากาศของแอฟริกาแบ่งออกเป็น 6 เขต
1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุกพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบ หรือป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งรอบอ่าวกินี ลุ่มแม่น้ำคองโก เขตที่สูงในแอฟริกาตะวันออก และฝั่งตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของแนวศูนย์สูตร ซึ่งอยู่รอบๆ เขตป่าดิบชื้น
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติมีอยู่บ้าง เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร ได้แก่ บริเวณตอนเหนือของทวีป มีทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย ซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกัน มีเนื้อที่ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งทวีป และเป็นเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางตอนใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น(สเตปป์) ได้แก่ บริเวณตอนกลางของทวีปและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรระหว่างละติจูด 10-30 องศาใต้ ด้านชายฝั่งตะวันตกของทวีป
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก ภูมิอากาศแบบนี้มีอยู่ 2 บริเวณ คือ ทางตอนเหนือที่เรียกว่า ชายฝั่งบาร์บารี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก ตูนิเซีย กับทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรภาคใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subttropical Climate) เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อน เป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน พบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของประเทศโมซัมบิก
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศอียิปต์ปัจจุบัน เป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ ได้แก่ การชลประทาน ที่สามารถนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ในการเกษตร ทำให้สามารถเพระปลูกได้ปีละ2-3 ครั้ง การสร้างพีระมิด เป็นที่เก็บศพของนักปกครองและนักรบ การทำมัมมี่ ซึ่งสามารถเก็บรักษาศพมนุษย์ได้เป็นพันๆ ปี โดยไม่เน่าเปื่อย การสร้างสฟิงซ์ โดยแกะสลักหินเป็นรูปสิงโตหมอบมีหน้าเป็นคน แพะ และเหยี่ยวไว้เป็นสิ่งเคารพ การทำปฏิทิน โดยกำหนดให้มีปีละ 365 วัน และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน การเขียน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ไว้ที่ฝาผนังที่ฝั่งศพ การเขียนสัญลักษณ์และรูปภาพแทนคำพูด ที่เรียกว่า อักษรไฮโรกลีฟิก การทำกระดาษ จากต้นพาไพรัส ซึ่งเป็นต้นกกชนิดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำไนล์
ต่อมาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 12 พวกอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขยายอำนาจ
จากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้้และนำอารยธรรมมุสลิมเข้าสู่ทวีปแอฟริกาหลายอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม
ภาษาอาหรับ สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิต เป็นต้น ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 22 วาสโก ดากามา (Vasco da Gama) ชาวโปรตุเกส ได้เกิดเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปเข้าสู่แอฟริกาตะวันออก และนับตั้งแต่นั้นมา
การสำรวจทวีปแอฟริกาของชาวยุโรปก็ได้เริ่มขึ้น และชาวยุโรปได้ขยายอิทธิพลของตน เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ
ไว้เป็นอาณานิคม กระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาจึงได้รับเอกราช
ให้ปกครองตนเอง
สภาพทางเศรษฐกิจ
เกษตรกรรม แบ่งเป็น
- การเพาะปลูกแบบยังชีพ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวเจ้า มันเทศ มันสำปะหลัง
- การทำไร่ขนาดใหญ่ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ชา ป่านศรนารายณ์ โกโก้
- การเกษตรกรรมแบบผสม (Mix Farming)
- การเกษตรแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น องุ่น มะกอก
ทวีปแอฟริกาส่ง โกโก้ ออกขายมากที่สุดในโลก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ส่ง เพชร ออกขายมากที่สุดในโลก และ ยังมีทองคำ ทองแดง ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ประชากร
ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ อัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่น 22 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
เชื้อสายของประชากร
- นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
- บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ
- ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา
- ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก
- บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายกาลาฮารี
- คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน และ จากชาวยุโรป บริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป
ภาษา
ภาษา ในทวีปแอฟริกามีภาษาพูดอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทวีปที่มีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม
1) กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือ และบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกของชาวยุโรปเป็นภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาปกครอง เป็นภาษที่ใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาดัตช์
2) กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา
3) กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป รวมทั้งบางประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ด้วย
4) กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีป
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน
เช่น เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์ เป็นต้น ส่วนศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจานี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาใหม่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนายิงก็มีผู้นับถืออยู่บ้าง
การศึกษา
แอฟริกาเป็นทวีปที่ยากจนและต้องพัฒนาทางด้านวิทยากรสมัยใหม่ แม้ความก้าวหน้าในโลกปัจจุบัน จะเป็นเครื่องกระตุ้นให้ประชากรและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องยกระดับและขยายการศึกษาให้ทั่วถึง แต่การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์และขัดสนทางด้านเศรษฐกิจในเกือบทุกประเทศ ย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาการศึกษา นั่นคือประเทศที่ยากจน อัตราส่วนการรู้หนังสือของประชากรจะต่ำ เช่น เอธิโอเปีย มาลี ไนเจอร์ มีผู้อ่านออกเขียนได้เพียงร้อยละ 24,25,28 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และแทนซาเนีย มีสภาพเศรษฐกิจดีกว่าประเทศทั้งสามนี้มีอัตราส่วนของผู้รู้หนังสือสูงร้อยละ 60 และ 85 เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
ทวีปยุโรป
แผนที่ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของทวีปเอเชีย ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน และอยู่ในซีกโลกเหนือทั้งหมด
ไม่มีดินแดนส่วนใดของทวีปอยู่ใต้เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ บริเวณใต้สุดของทวีป อยู่ในแนวเดียวกัน
กับตอนกลางของประเทศจีนและตอนใต้ของญี่ปุ่น คือ อยู่ระหว่างละติจูด 36 องศา 1 ลิปดาเหนือ ถึง 71องศา
10ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 66 องศาตะวันออก ถึง 9องศา30ลิปดาตะวันตก ยุโรปเป็นทวีปที่มี
ขนาดเล็ก รองจากทวีปออสเตรเลียซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด พื้นดินของทวีปยุโรป ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับทวีปเอเชีย
จึงมีผู้เรียกทวีปทั้งสองนี้ว่า ยูเรเชีย
เส้นกั้นพรมแดนธรรมชาติได้แก่ เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล ทะเลสาบ แคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส
ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ถึง 43 ประเทศโดยกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ 4 ภูมิภาค คือ ยุโรปเหนือ ยุโรปใต้
ยุโรปตะวันตก และ ยุโรปตะวันออก
ขนาด
เนื้อที่ของทวีปยุโรปมีขนาด 9.94 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
และมีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปออสเตรเลีย ถ้าเปรียบเทียบกับทวีปเอเชียจะมีขนาดกว้างกว่า
ถึง 4.5 เท่า
อาณาเขตติดต่อของทวีปยุโรป
ทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก น่านน้ำตอนเหนือได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส
ทิศตะวันออก ติดต่อเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขายูราล แม่น้ำยูราล ทะเลแคสเปียน
ทะเลดำ และ เทือกเขาคอเคซัส เป็นแนวเขตแบ่งทวีปทำให้ดินแดนของประเทศรัสเซีย และตุรกีตั้งอยู่ทั้งในทวีป
ยุโรปและทวีปเอเชีย
ทิศใต้ ติดกับ ทะเลแคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส ทะเลดำ ทะเลมาร์มะรา และ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ คือ ทะเลนอร์วีเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเล
บอลติกมีเกาะสำคัญได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์เกาะไอซ์
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรป ประกอบด้วย 4 เขตใหญ่ ๆ ดังนี้
1. เขตเทือกเขาหินเก่าภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปภาคเหนือ เป็นมีลักษณะเป็น เทือกเขาสูง และ
บางตอนเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของยุโรป ประมาณ 400 ล้านปี เช่น เทือกเขาภาคเหนือแถบ
คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ ได้แก่ เทือกเขาเชอรอน และ เทือกเขาแกรมเบรียน ใน
สกอตแลนด์ นอกจากนี้ยังมีแนวชายฝั่งที่เกิดจาก การกัดเซาะของธารน้ำแข็ง ที่เรียกว่า "ฟยอร์ด (Fjord)"
2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง ภูมิประเทศของทวีปยุโรป ภาคกลางเป็นที่ราบต่อเนื่องกัน ตั้งแต่บริเวณ
ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในฝรั่งเศส ไปจนถึงที่ราบต่ำตอนกลางของทวีป ในประเทศเบลเยี่ยม เนธอร์แลนด์
เยอรมนี และรัสเซีย มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีบทบาททางเศรษฐกิจ และมีความสำคัญด้าน
เกษตรกรรมมากที่สุดของทวีปยุโรป แม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเอลเบ แม่น้ำลัวร์ และ แม่น้ำเซน
3.เขตที่ราบสูงภาคกลาง ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงเริ่มตั้งแต่คาบสมุทรไอบีเรีย ตอนกลางของทวีปยุโรป
ไปจนถึงที่ราบสูงโบฮีเมีย ทางตะวันออกเขตที่ราบสูงภาคกลางนี้ เชื่อมต่อระหว่างที่ราบใหญ่ภาคกลางกับ
เทือกเขาสูงภาคใต้ของทวีปที่ราบสูงที่สำคัญได้แก่ ที่ราบสูงเมซาตา ในคาบสมุทรไอบีเรียที่ราบสูง
มัสซิฟซองตาล ในตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ป่าดำ (Black Forest) ในประเทศเยอรมนี ที่ราบสูงโบฮีเมียใน
ประเทศสาธารณรัฐเชค ที่ราบฮังกาเรียน(Great Hungarian Plain) ในเขตประเทศฮังการี ซึ่งเป็นที่ราบขนาดใหญ่
ระหว่างเทือกเขาคาร์เปเทียน (ทางตอนเหนือ) เทือกเขา Transdanubian Medium Mountains (ทางตะวันตก
เฉียงใต้) และแม่น้ำ Sava (ทางทิศใต้) โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่(56%)อยู่ในประเทศฮังการี และส่วนหนึ่งครอบคลุม
ไปถึงสโลวาเกีย, ยูเครน , โรมาเรีย, เซอร์เบีย และโครเอเชีย
4. เขตเทือกเขาสูงภาคใต้ ทวีปยุโรปภาคใต้มีเทือกเขาสูงซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับ เทือกเขาหิมาลัยใน
ทวีปเอเชีย เทือกเขาเหล่านี้เป็นเทือกเขารุ่นใหม่ ผ่านการสึกกร่อนพังทลายไม่มาก และยังมีการเปลี่ยนแปลง
เคลื่อนไหวของเปลือกโลกอยู่ เช่น เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดเป็นต้น ลักษณะของเทือกเขาสูงภาคใต้ เป็น
ยอดเขาสูงและมีหุบเขาลึก บริเวณยอดเขามีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
ลักษณะภูมิอากาศ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปยุโรป ได้แก่
ละติจูด ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในช่วงละติจูด 35-70 องศาเหนือ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากพอสมควรฉะนั้น
จึงไม่มีภูมิอากาศเมืองร้อนเหนืออย่างทวีปอื่นๆ ที่มีดินแดนใกล้เส้นศูนย์สูตร จะเห็นได้ว่าทางตอนใต้สุดของทวีป
เป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง
ทิศทางลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปเป็นลมฝ่ายตะวันตกพัดจากมหาสมุทร
แอตแลนติกเข้ามาทางด้านตะวันตกของทวีป ด้วยเหตุนี้ทางซีกตะวันตกของทวีปจึงมีฝนตกชุก ส่วนทางซีก
ตะวันออกของทวีปฝนจะตกน้อยลง และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีมากขึ้น ซึ่งเป็น
ลักษณะของภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป
กระแสน้ำในมหาสมุทร ชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลเลืยบฝั่งของ
หมู่เกาะบริติช และชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ทำให้มีผลต่อภูมิอากาศของบริเวณดังกล่าว ดังจะเห็นได้ว่า หมู่เกาะ
บริติชอันเป็นที่ตั้งองประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศไอร์แลนด์นั้นมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี แม้ในฤดูหนาว
อากาศก็ไม่หนาวเย็นมากนัก นอกจากนี้ชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์ น้ำทะเลไม่แข็งตัวในฤดูหนาว ผิดกับน้ำใน
ทะเลบอลติกซึ่งแข็งตัวเป็นเวลานานหลายเดือน ในระหว่างฤดูหนาว ประเทศสวีเดนจึงต้องอาศัยการขนส่งสินค้า
ทางรถไฟไปลงเรือที่เมืองท่าของประเทศนอร์เวย์ เพราะไม่สามารถใช้เมืองท่าของตนในทะเลบอลติกได้
ระยะห่างจากทะเล การที่ทวีปยุโรปมีฝั่งทะเลยาว เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อที่ทวีป ทำให้ดินแดนตอนใน
ของทวีปอยู่ห่างจากทะเลไม่มากนัก ลักษณะเช่นนี้มีผลต่อภูมิอากาศของทวีปยุโรป คือ ไม่มีดินแดนส่วนใดที่อยู่
ลึกเข้าไปภายในทวีปมาก จนไม่ได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรเลย จึงไม่มีเขตภูมิอากาศแห้งแล้งเหมือนอย่างใน
บริเวณตอนกลางของทวีปเอเซีย
ทิศทางของเทือกเขา เทือกเขาส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปมีทิศทางในแนวทิศตะวันตก ตะวันออก จึงไม่
กีดขวางทางลมประจำตะวันตกที่นำความชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าไปในทวีป บริเวณส่วนใหญ่ของทวีป
จึงได้รับฝนอย่างทั่วถึง
จากปัจจัยต่างๆ ทำให้ภูมิอากาศของทวีปยุโรปได้ชื่อว่าเหมาะสมสำหรับการดำรงชีพ เพราะส่วนใหญ่มี
อากาศอบอุ่น ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป
การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปยุโรป ทวีปยุโรปมีเขตภูมิอากาศต่างๆ รวม 7 เขต ดังนี้
1.ภูมิอากาศแบบเมติเตอร์เรเนียน
สภาพอากาศ เป็นภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง มีฝนตกในฤดูหนาว ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ
500-1000 มิลลิเมตร
พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ที่เรียกว่า ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
บริเวณที่พบ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปภาคใต้ ครอบคลุมดินแดนชายฝั่งของประเทศสเปน
ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ชายฝั่งของประเทศยูโกสลาเวีย และประเทศกรีซ
2. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
สภาพอากาศ ภูมิอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ซึ่งมีฝนตกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ
500-1000 มิลลิเมตร
พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น หรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
บริเวณที่พบ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูบในประเทศฮังการี ภาคเหนือของประเทศยูโกสลาเวียและ
ประเทศโรมาเนีย
3.ภูมิอากาศทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
สภาพอากาศ เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อย คือ ปริมาณฝนทั้งปี ประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
พืชพรรณธรรมชาติ ทุ่งหญ้าที่ขึ้นเบาบาง
บริเวณที่พบ มี 2 แห่ง คือ ตอนกลางของประเทศสเปน อูเครน จอร์เจียและตอนใต้ของรัสเซีย
4.ภูมิอากาศภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก
สภาพอากาศ ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกชุก
ตลอดทั้งปี ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 750-1500 มิลลิเมตร
พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าไม้สน
บริเวณที่พบ บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตกของทวีป ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส
หมู่เกาะบริติช เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ภาคเหนือของเยอรมนี และภาคใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน
5. ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป
สภาพอากาศ เป็นภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรไม่มากนัก เพราะอยู่ลึกเข้ามาในทวีป
ฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาว ปริมาณน้ำฝนทั้งปีประมาณ 500-750 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตกในฤดูร้อน
พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้เขตอบอุ่น ซึ่งมีทั้งป่าผลัดใบและป่าสนผสมปะปนอยู่ บางแห่งที่มี
ฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
บริเวณที่พบ ยุโรปตะวันออก ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศโปแลนด์ เช็คและสโลวัก รัสเซีย
และสาธารณรัฐเอกราชต่างๆ ที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต
6.ภูมิอากาศแบบไทกา
สภาพภูมิอากาศ เป็นภูมิอากาศหนาวซึ่งมีฤดูหนาวยาวนาน ปริมาณฝนทั้งปีประมาณ 250-500 มิลลิเมตร
พืชพรรณธรรมชาติ ป่าสน (หรือป่าไม้ใบแหลมมีใบเขียวทั้งปี)
บริเวณที่พบ ดินแดนทางเหนือของประเทศฟินแลนด์ ภาคกลางของนอร์เวย์และสวีเดน
7.ภูมิอากาศแบบทุนดรา
สภาพภูมิอากาศ เป็นภูมิอากาศหนาวแบบขั้วโลก มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีฤดูร้อนสั้นๆ เพียง
1-2 เดือน ที่พืชพรรณจะเจริญเติบโตได้ นอกนั้นแล้วจะมีอุณหภูมิต่ำถึงขีดเยือกแข็ง
พืชพรรณธรรมชาติ พืชชั้นต่ำจำพวกหญ้า และตะไคร่ที่ทนอากาศหนาวเย็นได้ เช่น มอสและไลเคน
บริเวณที่พบ ชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีปยุโรป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)